วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

รูรับแสงคืออะไร?

รูรับแสง คือแผ่นม่านไดอะแฟรม ที่ซ้อนกันเป็นกลีบบางๆอยู่ในกระบอกเลนส์ โดยจะมีรูตรงกลางเพื่อให้แสงผ่านเข้าสู่กล้อง รูรับแสงถือเป็นด่านแรกที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของแสงเข้าสู่กล้อง ถ้ารูรับแสงแคบ แสงก็จะเข้าได้น้อย ถ้ารูรับแสงกว่างแสงก็จะเข้าได้มาก 
   ค่ารูรับแสง เรามักเรียกว่าค่า F-number หรือ f-stop ค่าของรูรับแสงจะแสดงเป็นตัวเลขเช่น f/4,f/5.6หรือf/22 เป็นต้น
  เลข (f) น้อย=รูรับแสงกว้าง=แสงเข้าได้เยอะ=ภาพชัดตื้น
เลข (f) มาก=รูรับแสงแคบ=แสงเข้าได้น้อย=ภาพชัดตื้น

กล้องระดับเริ่มต้น (Entry Level)

   เป็นกล้องสำหรับกลุ่มผู้ใช้มือใหม่ทั่วๆไป ที่เพิ่งจะเริ่มหันมาจับกล้อง DSLR มีจุดเด่นตรงที่มีราคาถูก น้ำหนักเบา มีฟังก์ชั่นการใช้งานครอบคลุมการถ่ายภาพพื้นฐานทั่วๆไป มีโหมดอัตโนมัติให้เลือกใช้งานครบครัน บางรุ่นสามารถถ่ายวีดีโอได้ ส่วนที่เป็นรองกล้องรุ่นอื่น คือเรื่องของวัสดุที่ดูบอกบางกว่า (โครงสร้างเป็นสแตนเลส) ความเร็วในการทำงานที่ช้ากว่า ช่น การถ่ายต่อเนื่องหรือโฟกัส ขนาดที่เล็กกว่า โดยรวมแล้วกล้องรุ่นนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก แต่ไม่ได้คิดจริงจังเป็นอาชีพ หรือผู้ที่กำลังเริ่มต้นเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR

อ้างอิง: คู่มือการถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR

โหมดการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

ใช้สำหรับการถ่ายภาพสิ่งต่างๆที่เคลื่อนไหว เช่น เด็กหรือสัตว์เลี้ยงที่ชอบวิ่งไปมา โหมดนี้กล้องจะปรับไปใช้ระบบโฟกัสแบบติดตามวัตถุ ช่วยตามโฟกัสภาพวัตถุให้โดยเราเพียงแค่กดปุ่มชัตเตอร์ค้งเอาไว้ กล้องจะพยายามใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ เพื่อจับการเคลื่อนไหวของวัตถุนงดังกล่าวให้หยุดนิ่ง และใช้ระบบถ่ายต่อเนื่องทำให้เราได้ภาพที่คมชัด หากอยากใช้โหมดนี้ให้ได้ภาพที่ดี จึงควรถ่ายในสภาพที่แสงสว่างเพียงพอ

โหมดถ่ายภาพเด็ก (Child Mode)

โหมดนั้นมีเฉพาะกล้องบางยี่ห้อง เพราะโหมดนี้ถูกออกแบบมาสำหรับถ่ายภาพเด็กๆ เน้นการเร่งสีสันของเสื้อผ้า และฉากหลังให้สดใส และปรับสีผิวให้ดูนุ่มนวล

กล้องระดับกึ่งมืออาชีพ (Semi-pro Level)

     กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพโครงสร้างที่แข็งแรง (โครงสร้างเป็นแม็กนีเซียมอัลลอย) มีการซีลกันฝุ่นและละอองน้ำ มีขนาดและน้ำหนักที่มากกว่า ความเร็วในการทำงานเร็วขึ้น ระบบการทำงานหลายๆส่วนจะมีมาให้เหมือนกับกล้องรุ่นโปร แต่ก็ยังมีโหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติอยู่ กล้องรุ่นนี้จึงเหมาะสำหรับคนที่คุ้นเคยกับการใช้งานกล้อง DSLR มาบ้างแล้วหรือผู้ที่จริงจังกับการถ่ายภาพการทำงานในด้านต่างๆสูงกว่ากล้องในระดับเริ่มต้ร ไม่ว่าจะเป็น

กล้องระดับมืออาชีพ (Pro Level)

เป็นกล้อง DSLR ระดับสูงสุด กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่ากล้องระดับอื่นๆในทุกด้าน เริ่มตั้งแต่บอดี้ภายนอกที่ดูบึกบึน มีขนาดใหญ่โครงสร้างแข็งแรง ซีลรอยต่างๆเป็นอย่างดี ทนทานต่อทึกสภาพการใช้งาน มีคุณภาพสูงมาก เนื่องจากใช้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เที่ยบเท่าฟิล์ม  35 มม. ถ่ายภาพต่อเนื่องได้รวดเร็ว ระบบวัดแสงทำงานอย่างแม่นยำ มีจุดโฟกัสมากกว่า เป็นต้น กล้องระดับนี้จึงเหมาะสำหนับช่างภาพมืออาชีพอย่างแท้จริง แน่นอนว่าเป็นกล้อง DSLR ที่มีราคาแพงที่สุดด้วย

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

4 เทคนิคเบื้องต้นของภาพ...วิวทิวทัศน์

           เวลาเดินทางไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ภาพถ่ายสถานที่ วิวทิวทัศน์ หรือบุคคลร่วมด้วย ถือเป็นการเก็บภาพความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิต แต่จะทำให้ภาพสวยได้ก็ไม่ใช่เรื่องยากถ้ารู้เทคนิคเบื้องต้น...
1. ใช้รูรับแสงแคบ และ วางขาตั้งกล้องให้ได้ระดับเสมอกัน
สิ่งที่ทุกคนอยากได้จากการถ่ายภาพ คือรายละเอียดของภาพที่ครบถ้วน คมชัด ดูมีมิติ การตั้งค่ากล้องควรตั้งค่ารูรับแสงให้เล็กที่สุด เพื่อเพิ่มระยะความชัดลึกของภาพ และต้องปรับความเร็วของชัตเตอร์ให้ช้าลงเพื่อชดเชย เมื่อความเร็วชัตเตอร์ช้าลง โอกาสที่ภาพจะเบลอมีสูง จึงแนะนำให้ใช้ขาตั้งกล้องประกอบการถ่ายเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด
2. ใช้ Filter กรองแสง / ลดแสง เข้าช่วย
ภาพวิวในตอนกลางวัน บางมุมแสงจะมากเป็นพิเศษ ถึงถ่ายออกมาแล้วสวย แต่อาจขาดความน่าสนใจ การใช้ฟิลเตอร์สีชาเพื่อกรองแสงลง ทำให้สีสันส่วนอื่นของวิวในภาพดูเด่นขึ้น คล้ายกับการที่เราใส่แว่นกันแดดมองวิวกลางแดดจ้า สิ่งที่เห็นหลังแว่นกันแดดย่อมครบถ้วน คมชัด และสวยกว่าการมองตาเปล่ากลางแดด และสามารถนำามประยุกต์กับภาพถ่ายถ่ายธรรมชาติได้
3. กลับมาถ่ายที่เดิมในเวลาที่ต่างออกไป
สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง สวยทั้งตอนกลางวันและกลางคืน หรือสถานที่เดียวกัน แต่สภาพอากาศคนละแบบ ก็ให้อารมณ์ภาพที่แตกต่างกัน
4. จัดองค์ประกอบของภาพด้วยกฎสามส่วน
ซึ่งกล้องถ่ายรูปส่วนใหญ่จะมี Grid ที่เป็นเส้นตารางแบบในจอ เส้นตารางนี้ ช่วยให้เราแบ่งสัดส่วนภาพได้ง่ายขึ้น บางทีการถ่ายภาพวิวที่มีท้องฟ้าเยอะๆ องค์ประกอบวิวไกลๆ ทำให้ภาพขาดความน่าสนใจ การใช้ Grid ช่วนในการแบ่งสัดส่วน ทำให้สิ่งที่ต้องการถ่ายดูเด่นกว่า บวกกับการเก็บรายละเอียดรอบข้างให้พอดี ช่วยให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น



โหมดภาพถ่ายบุคคล

  เป็นโหมดที่ใช้ถ่ายถาพบุคคล กล้องจะทำการปรับรูรับแสงให้กว้างมากๆ เพื่อให้ระยะชัดตื้นเพื่เบลอฉากหลังทิ้งไป เช่นภาพที่นิยมถ่ายแบบหน้าชัดหลังเบลอ และในบางครั้งกล้องจะทำการยิงแฟรชเองเพื่อช่วยลบเงา หรือเพิ่มประกายตาให้กับนางแบบ/บุคคล

ขอบคุณภาพจาก Dew' lstyle Pix

โหมดภาพถ่ายระยะใกล้ (Close-up Mode)

เหมาะสำหรับการถ่ายภาพระยะใกล้วัตถุมากๆ หลายคนเข้าใจผิดนึกว่าคือโหมดมาโครที่ช่วยให้เราจ่อกล้องเข้าไปได้ใกล้และช่วยขยายภาพวัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เหมือนในกล้องคอมแพล็ก แต่จริงๆไม่ใช่ เพราะโหมดนี้ไม่ได้ช่วยจ่อกล้องได้ใกล้วัตถุหรือขยายวัตถุแต่อย่างใด โหมดนี้กล้องจะปรับรูรับแสงให้เราอัตโนมัติ เพื่อให้ภาพคมชัดทั้งหมดแต่เบลอฉากหลัง เมื่อใช้งานโหมดนี้บางครั้งแฟรชจะทำงานและสปีดชัดเตอร์อาจต่ำลงจนต้องใช้ขาตั้งกล้องช่วย หากอยากได้ภาพมาโครก็ควรใช้เลยมาโครในการถ่ายภาพ

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตำแหน่งจุดโฟกัส

การถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นมุมมอง แสงและเงา ตำแหน่งของจุดโฟกัสย่อมสำคัญ เพียงแค่เราขยับจุดโฟกัสและองค์ประกอบเพียงเล็กน้อยเราก็จะได้ภาพใหม่ที่มีความสวยงานที่แตกต่างออกไป
#การถ่ายภาพอย่าลืมดูตำแหน่งจุดโฟกัสของภาพ